โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป (Modern Business Accounting - MBA)

รองรับงานทางบัญชี การลงบัญชีรูปแบบต่างๆ การคิดค่าเสื่อมราคา รวมถึงการรายงานภาษี

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป
(Modern Business Accounting - MBA)

          โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับกระบวนการทางบัญชี การลงบัญชีในรูปแบบต่างๆ และเก็บข้อมูล ยอดเจ้าหนี้  ยอดลูกหนี้ การลงบัญชีสมุดรายวัน การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ สามารถดูบัญชีรายวัน บัญแยกประเภท กำไร-ขาดทุน ได้ นอกจากนี้โปรแกรมบัญชียังสามารถเชื่อมข้อมูลกับโปรแกรมอื่นๆของสุภรัตน์เพื่อให้ระบบลงบัญชีโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ โดยสามารถตรวจสอบการลงบัญชีในแต่ละส่วนงานได้ และมีรายงานรองรับเพื่อตรวจสอบ งบดุล งบกำไร-ขาดทุน ภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีนำส่งสรรพากร เป็นต้น
เมนูการทำงานเบื้องต้นของโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป
       1. ระบบงาน เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการจัดการบริหารงาน การรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้โปรแกรม เช่น การกำหนดค่าระบบของโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปและโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบบบัญชี (หากมีการใช้โปรแกรมอื่นๆของสุภรัตน์ร่วมด้วย) กำหนดผังบัญชี การกำหนดกลุ่มงานของผู้ใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดขอบเขตและสิทธิ์ในการใช้งานของกลุ่มงานต่างๆ รวมทั้งกำหนดสิทธิ์ เพิ่ม แก้ไข ยกเลิก หรือพิมพ์ข้อมูล สามารถสร้างได้มากกว่า 1 กลุ่มงานตามความเหมาะสมและการจัดการภายในบริษัท
       2. รูปแบบการลงบัญชี เป็นการวางรูปแบบการลงบัญชี (เดบิต/เครดิต) ทั้งรายรับและรายจ่าย การเพิ่มหนี้ ลดหนี้ ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อบันทึกข้อมูลการทำงานในโปรแกรมระบบบัญชีหรือโปรแกรมอื่นๆ (หากมีการใช้โปรแกรมอื่นๆของสุภรัตน์ร่วมด้วย) ระบบจะลงบัญชีตามที่กำหนดในรูปแบบการลงบัญชีที่วางไว้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการลงบัญชีได้ในโปรแกรมบัญชี
       3. ระบบเจ้าหนี้  เป็นส่วนงานของการเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ (รายจ่าย) ขององค์กร โดยสามารถแยกรายจ่ายออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อนำมาทำรายการตั้งหนี้และชำระเงิน สามารถทำรายการแบบตั้งหนี้หรือไม่ตั้งหนี้ก็ได้ ระบบเจ้าหนี้แยกการทำงานต่างๆออก ดังนี้
           3.1 รายละเอียดเจ้าหนี้ สำหรับจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดของเจ้าหนี้


           3.2 บันทึกขอสั่งซื้อ
           3.3 บันทึกสั่งซื้อ
           3.4 บันทึกตั้งเจ้าหนี้ เป็นเมนูที่ระบบมีไว้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานสะดวกยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนดรูปแบบการลงบัญชีเดบิต-เครดิต ของแต่ละกลุ่มรายจ่ายเป็นรูปแบบมาตรฐานไว้ โดยสามารถบันทึกแบบตั้งหนี้ หรือไม่ตั้งหนี้ก็ได้ หากทำรายการแบบตั้งหนี้ข้อมูลจะถูกจัดการให้ไปรอทำการชำระเงินในขั้นตอนต่อไป


           3.5 บันทึกชำระเงิน จะเลือกทำรายการได้เฉพาะรายการตั้งหนี้เท่านั้น สามารถเลือกประเภทการชำระเงินได้ทั้งเงินสด เงินโอน เช็ค และบัตรเครดิต สำหรับการชำระด้วยเช็คระบบมีขั้นตอนการควบคุมงานเช็ครองรับไว้ให้ใช้งาน


           3.6 บันทึกเพิ่มหนี้
           3.7 บันทึกลดหนี้
       
       4. ระบบลูกหนี้ เป็นส่วนงานของการเก็บข้อมูลการขายสินค้าหรือการให้บริการต่างๆ (รายรับ) ขององค์กร โดยสามารถแยกรายรับออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อนำมาทำรายการตั้งลูกหนี้และรับชำระเงิน สามารถทำรายการแบบตั้งลูกหนี้หรือไม่ตั้งลูกหนี้ก็ได้ ระบบลูกหนี้มีเมนูการทำงานและหลักการใช้งานที่คล้ายกับระบบเจ้าหนี้ ดังนี้
           4.1 รายละเอียดลูกหนี้
           4.2 บันทึกตั้งลูกหนี้
           4.3 บันทึกรับชำระเงินจากลูกหนี้
           4.4 บันทึกออกใบลดหนี้
           4.5 บันทึกออกใบเพิ่มหนี้
       ซึ่งเมนูการทำงานต่างๆเหล่านี้เมื่อทำการบันทึกข้อมูล จะลงบัญชีให้อัตโนมัติโดยวางเดบิต เครดิตตามที่กำหนดรูปแบบไว้ก่อนใช้งาน  ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรายการลงบัญชีได้
       5. การลงบัญชีรายวันทั่วไป(GL) เป็นการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ค่าสินค้าหรือบริการที่นอกเหนือจากการตั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้  โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดรูปแบบการลงบัญชี (เดบิต/เครดิต)เองได้


       6. การตรวจสอบและผ่านบัญชี เป็นหน้าตรวจสอบการลงบัญชีจากการบันทึกรายการผ่านเมนูงานต่างๆ ของทุกโปรแกรม(หากใช้โปรแกรมอื่นของสุภรัตน์ร่วมด้วย) โดยเมื่อเช็คผ่านบัญชีแล้วระบบจะนำไปประมวลผลเพื่อออกเป็นบัญชีแยกประเภท งบดุล งบกำไร-ขาดทุน 


       7. การบันทึกรายงานภาษีส่งสรรพากร เป็นเมนูที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการนำส่งภาษีให้กับสรรพากร โดยโปรแกรมจะแสดงรายการภาษีซื้อทั้งหมด และภาษีขายในช่วงเดือนนั้นๆ พร้อมคำนวณยอดรวมภาษีซื้อ-ขาย รวมถึงยอดภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม หรือยอดภาษีที่ชำระเกิน โดยระบบจะลงบัญชีให้อัตโนมัติเมื่อมีการบันทึกงาน และสามารถพิมพ์รายงานภาษีซื้อ-ขายได้ทันที


       8. ระบบการปิดงวดบัญชี 


       9. บันทึกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมีการชำระเงินให้กับผู้มีเงินได้ หรือ หักในกรณีเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ เป็นต้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการยื่นแบบภาษีส่งสรรพากร โปรแกรมมีฟังก์ชั่น Export ไฟล์รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้ง ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53 สำหรับใช้ยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซค์ของกรมสรรพากรได้


       10. ระบบควบคุมเช็ครับ-เช็คจ่าย ควบคุมขั้นตอนงานที่เกี่ยวกับเช็ครับ และเช็คจ่าย เริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็ค ,นำเช็คฝากธนาคาร ,นำเช็คขึ้นเงินสด , เช็คผ่าน/ไม่ผ่าน ,คืนเช็ค และเปลี่ยนเช็ค
       11. ระบบการคิดค่าเสื่อมราคา ประกอบด้วยเมนูการทำงานหลักๆ ดังนี้
           11.1  รายละเอียดสินทรัพย์ สำหรับกำหนดรายละเอียดการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ โดยกำหนดรายการสินทรัพย์เองได้หรือดึงมาจากโปรแกรมซื้อ-ขายสินค้า โชว์รูม (กรณีใช้โปรแกรมซื้อ-ขายสินค้า โชว์รูม ร่วมด้วย) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาสามารถกำหนดได้เป็นรายปี รายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน (ตามความเหมาะสม) สามารถระบุราคาซากเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือจำนวนเงิน


           11.2  การบันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ มีการคำนวณและลงบัญชีให้อัตโนมัติ โดยสามารถเลือกเงื่อนไขกลุ่ม/รายการสินทรัพย์ที่ต้องการบันทึกค่าเสื่อมได้


           11.3  บันทึกเปลี่ยนแปลงราคาซาก เพื่อใช้ทำรายการเปลี่ยนแปลงราคาซาก และสามารถเรียกดูประวัติการเปลี่ยนแปลงราคาซากได้ในรายละเอียดสินทรัพย์


       12. รายงาน โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป มีรายงานพอสังเขป ดังนี้
           รายงานรายวัน เช่น สมุดบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท เจ้าหนี้รายตัว
                ตัวอย่าง รายงานบัญชีแยกประเภท


           -  รายงานงบการเงิน เช่น งบทดลอง งบดุล รายงานกำไร-ขาดทุน
           รายงานใบกำกับภาษีส่งสรรพากร


           รายงานระบบเช็ค เช็ครับ เช็คจ่าย
           รายงานเจ้าหนี้
           -  รายงานลูกหนี้
           -  รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
           -  รายงานตรวจสอบค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์