โปรแกรมระบบบัญชี
(Modern Business Accounting - MBA)
โปรแกรมระบบบัญชี มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับกระบวนการทางบัญชี การลงบัญชีในรูปแบบต่างๆ และเก็บข้อมูล ยอดเจ้าหนี้ ยอดลูกหนี้ การลงบัญชีสมุดรายวัน การคิดค่าเสื่อมราคาของสินค้า สามารถดูรายรับ-รายจ่าย กำไร-ขาดทุน ได้ นอกจากนี้โปรแกรมระบบบัญชียังสามารถเชื่อมข้อมูลกับโปรแกรมอื่นๆของสุภรัตน์ได้ เป็นการลงบัญชีโดยอัตโนมัติ เมื่อบันทึกข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ เพื่อตรวจสอบการลงบัญชีในแต่ส่วนงาน และมีรายงานรองรับเพื่อตรวจสอบ งบดุล งบกำไร-ขาดทุน ภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีนำส่งสรรพากร เป็นต้นส่วนประกอบของโปรแกรมระบบบัญชี
1. | ระบบงาน เป็นส่วนงานที่กำหนดการทำงานต่างๆของโปรแกรม เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการลงบัญชีของโปรแกรมต่างๆ กำหนดผังบัญชี การกำหนดกลุ่มงานของผู้ใช้โปรแกรม สามารถกำหนดได้ว่าผู้ใช้โปรแกรมแต่ละคนอยู่กลุ่มงานไหน แต่ละกลุ่มงานมีสิทธิ์ในการใช้เมนูการทำงานใดได้บ้าง รวมทั้งกำหนดสิทธิ์ เพิ่ม แก้ไข ยกเลิก หรือพิมพ์ข้อมูลได้หรือไม่ สามารถสร้างได้มากกว่า 1 กลุ่มงานตามความเหมาะสม |
2. | รูปแบบการลงบัญชี การวางรูปแบบการลงบัญชี(เดบิต/เครดิต) ทั้งรายรับและรายจ่าย การเพิ่มหนี้ ลดหนี้ ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อดึงไปใช้ในการบันทึกข้อมูลการทำงานต่างๆของทุกโปรแกรม(หากมีการใช้โปรแกรมอื่นๆของสุภรัตน์ร่วมด้วย เมื่อบันทึกข้อมูลมาจะลงบัญชีตามที่กำหนดในรูปแบการลงบัญชีที่วางไว้ สามารถตรวจสอบได้) |
3. | ระบบเจ้าหนี้ เป็นส่วนงานของการเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ(รายจ่าย) ขององค์กร โดยสามารถแยกรายจ่ายออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อนำมาทำรายการตั้งหนี้และชำระเงิน สามารถทำรายการแบบตั้งหนี้หรือไม่ตั้งหนี้ก็ได้ ระบบเจ้าหนี้แยกการทำงานต่างๆออก ดังนี้ |
ซึ่งเมนูการทำงานต่างๆเหล่านี้เมื่อทำการบันทึกข้อมูล จะลงบัญชีให้อัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรายการลงบัญชีได้
4. | ระบบลูกหนี้ เป็นส่วนงานของการเก็บข้อมูลการขายสินค้าหรือการให้บริการต่างๆ(รายรับ)ขององค์กร โดยสามารถแยกรายรับออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อนำมาทำรายการตั้งหนี้และชำระเงิน สามารถทำรายการแบบตั้งหนี้หรือไม่ตั้งหนี้ก็ได้ ระบบลูกหนี้แยกการทำงานต่างๆออก ดังนี้ |
3.1 รายละเอียดลูกหนี้
3.2 บันทึกตั้งลูกหนี้
3.3 บันทึกรับชำระเงินจากลูกหนี้
3.4 บันทึกออกใบลดหนี้
3.5 บันทึกออกใบเพิ่มหนี้
ซึ่งเมนูการทำงานต่างๆเหล่านี้เมื่อทำการบันทึกข้อมูล จะลงบัญชีให้อัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรายการลงบัญชีได้
5. | ระบบบัญชีรายวันทั่วไป(GL) เป็นการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ค่าสินค้าหรือบริการที่นอกเหนือจากการตั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดรูปแบบการลงบัญชี(เดบิต/เครดิต)เองได้ |
6. | ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่การชำระเงินให้กับผู้มีเงินได้ หรือ หักในกรณีเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ เป็นต้น |
7. | ระบบควบคุมเช็ครับ-เช็คจ่าย ควบคุมกระบวนการทำงานของเช็ครับและเช็คจ่าย เริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็ค , นำเช็คฝากธนาคาร , นำเช็คขึ้นเงินสด , เช็คผ่าน/ไม่ผ่าน , คืนเช็ค และเปลี่ยนเช็ค |
8. | ระบบการคิดค่าเสื่อมราคา สามารถกำหนดรายละเอียดการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ โดยกำหนดรายการสินทรัพย์เองได้หรือดึงมาจากโปรแกรมระบบซื้อ-ขายยานยนต์(กรณีใช้โปรแกรมระบบซื้อ-ขายยานยนต์ร่วมด้วย) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาสามารถกำหนดได้เป็นรายปี รายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน (ตามความเหมาะสม) รวมถึงการบันทึกค่าเสื่อมราคาซึ่งมีการคำนวณให้อัตโนมัติ เมื่อมีการประเมินราคาซากของสินทรัพย์ใหม่ในแต่ละปีสามารถทำการเปลี่ยนแปลงราคาซากได้ |
9. | รายงาน โปรแกรมระบบบัญชีมีรายงานพอสังเขป ดังนี้ |
- | รายงานรายวัน เช่น สมุดบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท เจ้าหนี้รายตัว |
- | รายงานงบการเงิน เช่น งบทดลอง งบดุล รายงานกำไร-ขาดทุน |
- | รายงานใบกำกับภาษีส่งสรรพากร |
- | รายงานระบบเช็ค เช็ครับ เช็คจ่าย |
- | รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย |
- | รายงานตรวจสอบค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ |
|